Sports News

ระวังผันผวนหนัก! ค่าเงินบาทเช้านี้ 36.23 บาท จับตาเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้

0 0
Read Time:5 Minute, 51 Second

วันที่ 27 ต.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.23 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.25 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.10-36.35 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐ และมองกรอบในช่วง 36.00-36.50 บาท/ดอลลาร์ หลังตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐ

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน (แกว่งตัวในช่วง 36.22-36.36 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ หลังรายงาน GDP สหรัฐ ในไตรมาสที่ 3 ออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ไม่นาน ก็เผชิญแรงขายทำกำไร และเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ซึ่งมาจากทั้งการปรับสถานะ Short ของผู้เล่นในตลาด ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ประเมินว่า รายงาน GDP ล่าสุด ได้สะท้อนว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ซึ่งจะลดโอกาสการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นบ้างของราคาทองคำ ที่ยังสามารถแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ตลาดหุ้นสหรัฐ ยังคงเผชิญแรงกดดันจากทั้งความผิดหวังต่อรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ รวมถึง ความกังวลต่อแนวโน้ม เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) หลังเศรษฐกิจสหรัฐ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวกว่า +4.9% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก โดยแรงขายหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Microsoft -3.8%, Meta -3.7%, Nvidia -3.5% ได้กดดันให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลง -1.76% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -1.18%

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 พลิกกลับมาลดลง -0.48% กดดันโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาน่าผิดหวัง อาทิ Mercedes-Benz -5.8%, BNP -2.6% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนบ้าง หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.00% (Deposit Facility Rate) ตามที่เราได้ประเมินไว้ก่อนหน้า หลังภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า รายงาน GDP สหรัฐ ล่าสุด จะทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า เฟดอาจสามารถคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) ทว่า รายงานดังกล่าว ก็สะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวลงมากขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเหลือไม่เกิน 28% ซึ่งภาพดังกล่าว กอปรกับแรงขายทำกำไรสถานะ Short บอนด์ระยะยาว และภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด จากความกังวลสถานการณ์สงคราม รวมถึงความผันผวนในตลาดการเงิน ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พลิกกลับมาปรับตัวลดลงจากระดับ 4.98% สู่ระดับ 4.85% สะท้อนถึงความผันผวนในตลาดบอนด์ที่สูงพอสมควรในช่วงนี้ (ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ แกว่งตัวในกรอบ 4.8%-5.0%)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นหลังรายงาน GDP สหรัฐ ออกมาดีกว่าคาด และ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์พลิกกลับมาทยอยอ่อนค่าลงบ้าง ตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ และแรงขายทำกำไรสถานะถือครองเงินดอลลาร์ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อลงเล็กน้อยสู่ระดับ 106.6 จุด (กรอบ 106.5-106.9 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ แม้ว่าในช่วงระหว่างวันจะได้แรงหนุนจากความกังวลสถานการณ์สงครามที่ร้อนแรงขึ้น แต่ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ก็เผชิญแรงกดดันบ้างในช่วงเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ไปไกลและยังคงแกว่งตัวในโซน 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ จังหวะการรีบาวด์ของราคาทองคำที่เกิดขึ้น หลังเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ย่อตัวลง ก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง

สำหรับวันนี้ ไฮไลต์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิดคือ รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐ ในเดือนกันยายน โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ที่ไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง สู่ระดับ 3.4% และ 3.7% ตามลำดับ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ แต่อาจยังคงทำให้เฟดสามารถส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงมากกว่าปัจจุบัน

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ ดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินในช่วงนี้ได้

ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมองว่า เงินบาทยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ชัดเจน ท่ามกลาง ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน (Risk-Off) ซึ่งต้องรอจับตา ทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดหุ้น ขณะที่การย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ อาจช่วยชะลอแรงขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติได้

ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือน โฟลว์ซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าก็อาจยังคงเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าอยู่ ทำให้เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.30 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไปจะอยู่ในโซน 36.50-36.60 บาทต่อดอลลาร์)

อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด ตราบใดที่ ราคาทองคำยังคงทรงตัวแถว 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ ปรับตัวขึ้นบ้าง ก็อาจเห็นโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงินบาทได้ ทว่า เรายังไม่ได้มองว่า เงินบาทจะสามารถแข็งค่าหลุดระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ จนกว่าตลาดจะปรับลดมุมมองต่อแนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer)

เราแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาด ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน ตั้งแต่ช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐ (ในช่วงเวลาประมาณ 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) โดยอัตราเงินเฟ้อกลับออกมาสูงกว่าคาดและไม่ได้ชะลอตัวลงตามที่ตลาดคาดหวัง ก็อาจหนุนให้ เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น ได้ไม่ยาก ซึ่งอาจกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.50-36.60 บาทต่อดอลลาร์ได้

เรายังคงมองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน สถานการณ์สงครามที่เสี่ยงทวีความรุนแรงและบานปลาย ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

About The Author